นอกจากนี้ยังมีการคันพบเมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดินและรอยแกลบข้าวบนเครื่องปั้นดินเผา
ที่โคกพนมดี
อำเภอ พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
แสดงให้เห็นถึงชุมชนปลูกข้าวสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ในแถบชายฝั่งทะเล
รวมทั้งยังหลักฐานคล้ายดอกข้าวป่าที่ถ้ำเขาทะลุ
จังหวัดกาญจนบุรี
อายุประมาณ
2,800
ปี
ซึ่งอยู่ในช่วงรอยต่อ
ของยุคหินใหม่ตอนปลายกับยุคโลหะตอนต้น ภาพเขียนบนผนังถ้ำหรือผนังหินอายุประมาณ
6,000
ปี
ที่ผาหมอนน้อย
บ้านตากุ่ม
ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
มีลักษณะคล้ายบันทึกการปลูกธัญพืชอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเหมือข้าว
ภาพควาย แปลงพืชคล้ายข้าว
แสดงให้เห็นว่า
มนุษย์ได้รู้จักการเพาะปลูกข้าวเป็นอย่างดีแล้ว
นัก
วิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น
3
คน
คือ
Tayada
Natabe, Tomoya Akihama
และ Osamu
Kinosgitaแห่งมหาวิทยาลัย
Tottri
และ
กระทรวงเกษตรและกรมป่าไม้
ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องข้าวไทยดูแกลบจาก แผ่นอิฐโบราณจากโบราณสถาน
108 แห่งใน 39 จังหวัดทั่งทุกภาคของประเทศไทย
ทำให้สันนิษฐานได้ว่าการปลูกข้าว
ในไทยมีมานานนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
6
โดยข้าวที่ปลูกจะเป็นข้าวเหนียวนาสวนเมล็ดป้อม
และข้าวเหนียวไร่เมล็ดใหญ่
ต่อมาการปลูกข้าวเหนียวไร่น้อยลง
แล้วเริ่มมีการปลูกข้าวนาสวนเมล็ดเรียวเพิ่มขึ้น การศึกษาวิจัยนี้ทำให้ทราบว่า
ในช่วงพุทธศตวรรษที่
11-20
มีข้าวชนิดต่างๆ
จำนวน
3
ขนาด
คือ
ข้าวเมล็ดใหญ่
ได้แก่
ข้าวเหนียวที่งอกงามในที่สูง
ข้าวเมล็ดป้อม
ได้แก่
ข้าวเหนียวที่งอกงามในที่ลุ่ม (ทั้งสองชนิดมีการเพาะปลูกก่อนสมัยทวาราวดี
พุทธศตวรรษที่
11-16)
และเมล็ดข้าวเรียว
ได้แก่
ข้าวเจ้า พบในสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่
13-18)
ซึ่งข้าวแต่ละชนิดพบมากหรือน้อยแตกต่างกันไป
ตามระยะเวลา
ประมาณ
พ.ศ. 540-570 ไทยได้รับอิทธิพลด้านกสิกรรมและ
การค้าจากจีน
ซึ่งคาดว่ามาตามลำน้ำโขงสู่ดินแดนอีสานตอนล่าง
ที่นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม
และเมล็ดใหญ่กันอย่างแพร่หลาย
เช่นเดียวกับภาคกลางในยุคทวาราวดี ใน
ช่วงเวลานั้นเริ่มมีการเพาะ
ปลูกข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียวขึ้นแล้ว
สันนิษฐานว่านำมาจากอาณาจักรขอม
ซึ่งในยุคนั้นถือว่า
เป็นชนชั้นปกครอง
การหุงต้มข้าวเมล็ดยาวนี้แตกต่างจากข้าว
ของชาวพื้นเมือง
จึงเชื่อว่าเป็นสาเหตุให้ข้าวชนิดนี้ถูกเรียกว่า “ข้าวเจ้า”
และเรียกข้าวเหนียวว่า
“ข้าวไพร่”
บ้างก็เรียกว่า
“ข้าวบ่าว”
หรือ
“ข้าวนึ่ง” ซึ่งข้าวในสมัยนั้นเรียกกันเป็นสิ่งบ่งบอกชนชั้นได้อีกด้วย
ใน
สมัยกรุงสุโขทัย
(พ.ศ. 1740-2040) ข้าวที่ปลูกในสมัยนี้
ยังเป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดยาวเป็นส่วนใหญ่
แต่ก็เริ่มปลูกข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียวเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
ในยุคนี้พระมหากษัตริย์ทรงทำนุบำรุงการกสิกรรม ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์
ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” มีการหักล้างถางพง
และถือครองเป็นที่ทำกิน และที่ดินนั้นจะสืบทอดเป็นมรดกตกทอด
แก่ลูกหลาน
การสร้างหลักปักฐานเพื่อประกอบ
อาชีพกสิกรรมเช่นนี้ ก่อให้เกิดระบบการปกครอง
เศรษฐกิจและสังคมขึ้น
ดังนั้น
ระบบศักดินาซึ่งเป็นการแบ่ง
ระดับชนชั้นตามจำนวนของพื้นที่นาจึงน่าจะเริ่มใน
ยุคนี้
ต่อ
มาเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
บ้านเมืองมีความ
มั่งคั่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ
อีกทั้งหัวเมืองในอาณาจักร
จำนวนมาก เริ่มระบบการปกครองแบบจตุสดมภ์มี
“กรมนา”
ดูแลและส่งเสริมและสนับสนุนการทำนาอย่างจริงจัง
เพราะข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรและเป็นเสบียงสำรองใน
ยามเกิดศึกสงคราม
โดยข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่
ยังคงเป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และเมล็ดยาว
แต่การปลูกข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียวมากขึ้นด้วย
สมัย
กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในต้น
รัชสมัยรัชกาลที่
3
ได้มีการเก็บอากรข้าวใน
ภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวที่ทางราชการแนะนำ
หรือพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณภาพ
ส่วนภาคเหนือตอนบนนิยม
ปลูกข้าวเหนียว แต่ในภาคเหนือตอนล่างและภาคใต้เน้น
ปลูกข้าวเจ้าเป็นหลัก
ใน
ช่วงนี้เองที่ประเทศตะวันตกได้ออกล่าอาณานิคม
และเมืองไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมาย
แต่ด้วยพระปรีชาญาณ
และวิเทโศบายอันชาญฉลาดของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
ไทยจึงรอดพ้นเงื้อมมือของต่างชาติ
และดำรง
เอกราชอยู่ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งคือ การเปิดเสรีการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น
ส่งผลให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออก
ที่สำคัญของไทย รัฐบาลต้องขยายพื้นที่เพาะปลูก
เพิ่มปริมาณผล
ผลิตข้าวในเขตพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด
|