วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวสังข์หยดพัทลุง

12. ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวที่มีกำเนิดอยู่ในจังหวัดพัทลุง เป็นข้าวที่มีเมล็ดเล็ก เรียว ท้ายงอน เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีแดงถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่ม และจับตัวกันคล้ายข้าวเหนียว ข้าวสังข์หยดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ มีเส้นใยสูง ช่วยชะลอความแก่ มีประโยชน์ในการบำรุงโลหิต ป้องกันโรคความจำเสื่อม และช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง 

ข้าวสังข์หยดพัทลุง  


สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวมันปู

11. ข้าวมันปู เป็นข้าวที่ชาวจีนเรียกว่า ข้าวแดง หรือชื่อพื้นเมืองเรียกว่า อั้งคั่ก มีลักษณะเยื่อหุ้มเปลือกข้าวเป็นสีแดงแบบสีมันปู จัดเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือชนิดหนึ่ง มีไขมันในปริมาณเดียวกับข้าวกล้อง ซึ่งสูงกว่าข้าวขัดสีประมาณสองเท่า มีสารที่เรียกว่าเคโรทีนที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายสูงกว่าข้าวขัดสี เมื่อหุงสุกแล้วเนื้อข้าวจะเป็นสีชมพูอ่อน มีกลิ่นหอม เมล็ดนุ่มสวย ไม่แฉะ ดูน่ารับประทาน ใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ ได้อร่อย ไม่ว่าจะเป็นข้าวผัด ข้าวอบต่าง ๆ หรือเคี่ยวเป็นโจ๊ก

ข้าวมันปู


สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวไรซ์เบอร์รี

10. ข้าวไรซ์เบอร์รี เป็นผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์ของ รศ.ดร.อภิชาติ และทีมนักวิจัยจากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ + ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์แม่ ซึ่งพันธุ์ข้าวนี้ได้รับการจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ มีลักษณะเรียวยาว ผิวมันวาว เป็นข้าวเจ้าที่มีสีม่วงเข้มคล้ายกับลูกเบอร์รีที่มีสีม่วงเข้มเมื่อสุก มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อีกทั้งยังมีรสชาติหอมมัน เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม เนื่องจากผ่านการขัดสีเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ข้าวสายพันธุ์พิเศษสีม่วงนี้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี 

ข้าวไรซ์เบอร์รี


สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวกล้อง

9. ข้าวกล้อง 
ข้าวกล้อง หรือที่บางคนเรียกกันติดปากว่า ข้าวซ้อมมือหรือข้าวแดง เนื่องจากในสมัยโบราณ ชาวบ้านใช้วิธีตำข้าวกินกันเอง จึงเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันเราใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน จึงเรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกนี้ว่า ข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องนั้นจะต้องมีส่วนของจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่ด้วยเสมอ ข้าวกล้องมีเส้นใยสูงมากกว่าข้าวขาว 3 - 7 เท่า การกินข้าวกล้องจะได้เส้นใยไปพร้อม ๆ กับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสารพัดชนิด และเส้นใยในข้าวกล้องยังทำให้รู้สึกอิ่มนานกว่าการกินข้าวขาวและไม่อยากกินจุบจิก 

ข้าวกล้อง

สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้

8. ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ พันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีของอำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี ที่มาของชื่อมาจากชื่อผู้นำสายพันธุ์ข้าวพันธุ์นี้เข้ามาในพื้นที่ คือพ่อค้าชาวไทยเชื้อสายจีน ชื่อ “เจ๊กเชย” ซึ่งข้าวสายพันธุ์นี้มีชื่อเสียงมายาวนานตั้งแต่ต้นรัชสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นข้าวที่หุงขึ้นหม้อ ไม่แข็งกระด้าง ที่สำคัญไม่บูดง่าย และไม่ยุบตัวเมื่อราดแกง สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี 

 ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้


สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวเหลืองประทิวชุมพร

7. ข้าวเหลืองประทิวชุมพร เป็นข้าวพื้นเมืองดั้งเดิมของอำเภอปะทิว จ.ชุมพร เป็นข้าวพันธุ์หนักในฤดูนาปี เก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคม มีจำนวนเม็ดต่อรวงจำนวนมาก และปลูกในที่ที่เป็นดินเปรี้ยวได้ดี อีกทั้งยังทนต่อโรคของแมลงได้ด้วย ลักษณะเมล็ดมีสีเหลือง เลื่อมมัน เมล็ดยาว มีน้ำหนักเมล็ดที่ดี เมื่อนำไปหุงแล้วข้าวขึ้นหม้อ จึงเป็นข้าวที่ชาวนาชุมพรมักนิยมปลูก เพราะปลูกง่าย ได้ผลผลิตที่ดี เหมาะกับพื้นที่และสภาพอากาศ 

ข้าวเหลืองประทิวชุมพร

สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวเหนียวดำหรือข้าวก่ำ

6. ข้าวเหนียวดำหรือข้าวก่ำ เมล็ดข้าวมีสีม่วงดำ และเมล็ดค่อนข้างแข็ง เคี้ยวละเอียดยากกว่า แต่นิยมนำมาทำเป็นขนมหวานมากกว่าข้าวอื่น ๆ และเป็นข้าวที่ชาวนายกย่องให้เป็นพญาข้าวเหนือข้าวพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งชาวนามีความเชื่อว่าข้าวก่ำจะปกป้องคุ้มครองข้าวพันธุ์อื่นที่อยู่ในท้องนาไม่ให้ถูกแมลงกัดกิน ทำให้ผลผลิตในการเก็บเกี่ยวข้าวได้ผลดี ข้าวก่ำยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล และยับยั้งการเจริญเติบโตของโรคมะเร็ง 

ข้าวเหนียวดำหรือข้าวก่ำ

สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวเหนียวเขี้ยวงู

5. ข้าวเหนียวเขี้ยวงู เป็นข้าวที่มีเม็ดเรียวยาว สีขาว และทนทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี เมื่อนำมาหุงให้สุกเม็ดข้าวที่ได้จะเหนียวนุ่ม เรียงตัวสวยไม่เละ มีสีขาวในลักษณะเลื่อมเป็นมันและมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพดีและเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำข้าวเหนียวมูน เป็นข้าวที่ปลูกในทางภาคเหนือ นิยมปลูกกันมากในจังหวัดเชียงราย 

ข้าวเหนียวเขี้ยวงู

สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธ์ุ

4. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธ์ุ เป็นข้าวเหนียวที่ปลูกในพื้นที่อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ (เฉพาะตำบลนาโท และตำบลหนองห้าง) และกิ่งอำเภอนาคู (เฉพาะตำบลนาคูและตำบลบ่อแก้ว) จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแคลเซียมและซิลิกอนสูง อากาศเย็นแห้งน้ำน้อย ส่งผลให้ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์มีความนุ่มและหอมมาก เมื่อนึ่งสุกจะหอมและนุ่ม ไม่แฉะติดมือ และข้าวที่นึ่งแล้วเมื่อเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดหลายชั่วโมง จนข้าวเย็นยังคงรักษาความอ่อนนุ่มไว้ได้ 

ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธ์ุ


สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวเหนียวพันธุ์ กข. 6

3. ข้าวเหนียวพันธุ์ กข. 6 ข้าวพันธุ์มีลักษณะเมล็ดยาวเรียว มีเปลือกสีน้ำตาล เมล็ดมีขนสั้น เป็นสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม ไวต่อช่วงแสง เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อนำไปหุงแล้วข้าวจะนุ่ม มีกลิ่นหอม ทนแล้ง และมีคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี เป็นข้าวเหนียวที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่นิยมปลูกกันแพร่หลายในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้าวเหนียวพันธุ์ กข. 6

สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา

2. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา เป็นข้าวพันธุ์ที่มาจากแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก นั่นก็คือที่ราบอันมีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ที่เราเรียกกันว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” ซึ่งเมล็ดข้าวจะมีลักษณะยาว เรียว และเมล็ดไม่มีหางข้าว เมล็ดข้าวที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก เมื่อหุงแล้วจะมีกลิ่นหอมและนุ่ม 
ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา

สายพันธ์ุข้าวที่นิยมบริโภคในไทย ข้าวหอมมะลิ 105

1. ข้าวหอมมะลิ 105  เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่อื่นได้ไม่ดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก ซึ่งข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวที่มีต้นกำเนิดจาก จ.ฉะเชิงเทรา เป็นข้าวพันธุ์เบาที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากข้าวขาวดอกมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพื้นเมืองที่พบและรู้จักกันในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยคุณลักษณะอันโดดเด่นยามหุงข้าว กลิ่นจะหอมชวนให้รับประทานไม่เหมือนพันธุ์ข้าวใดในโลก 
ข้าวหอมมะลิ 105



อ้างอิงจาก:https://www.wongnai.com/food-tips/12-rice-in-thailand?fbclid=IwAR2WwSqi0H-lAnHSingBPK23JtzwGeBQVcfjjhcKiZs0kaCkmKCpncE86_c








วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2562

ประเภทของข้าว


ประเภทของข้าว แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1. ข้าวหอมมะลิ มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย พันธุ์ที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลาย

2. ข้าวเหนียว พื้นที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ดีส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3. ข้าวขาว ข้าวขาวที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปมีหลายพันธุ์

4. ข้าวเพื่อสุขภาพ ข้าวพวกนี้จะเป็นข้าวที่ยังไม่ได้ผ่านการขัดสี ข้าวที่ได้จึงยังคงคุณค่าของวิตามินและกากใยไว้สูง 


อ้างอิงจากเว็บ:https://www.wongnai.com/food-tips/12-rice-in-thailand?fbclid=IwAR3yqBZIsre6elI72CVufXiINcoG6EP7A0ocwiMR152fs_3-pM8OS7vFQTA

ประวัติความเป็นมาของไทย

 ข้าวของไทยเป็นพืชอาหารประจำชาติที่มีตำนานประวัติศาสตร์มายาว นานปรากฏ
เป็นร่องรอยพร้อมกับอารยธรรมไทยมาไม่น้อยกว่า 5,500 ปี ซึ่งมีหลักฐานจากแกลบข้าว
ที่เป็นส่วนผสมของดินใช้เครื่องปั้นดินเผาที่บ้าน เชียง อำเภอโนนนกทา ตำบลบ้านโค
 อำเภอภูเวียง อันสันนิษฐานได้ว่าเป็นเมล็ดข้าวที่เก่แก่ที่สุดของไทยรวมทั้งยังพบ
หลักฐานเมล็ดข้าวที่ขุดพบที่ถ้ำ ปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยแกลบข้าว
ที่พบนี้มีลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ด ใหญ่ที่เจริญงอกงามในที่สูง                      
นอกจากนี้ยังมีการคันพบเมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดินและรอยแกลบข้าวบนเครื่องปั้นดินเผา
ที่โคกพนมดี อำเภอ พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แสดงให้เห็นถึงชุมชนปลูกข้าวสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ในแถบชายฝั่งทะเล รวมทั้งยังหลักฐานคล้ายดอกข้าวป่าที่ถ้ำเขาทะลุ 
จังหวัดกาญจนบุรี อายุประมาณ 2,800 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงรอยต่อ
ของยุคหินใหม่ตอนปลายกับยุคโลหะตอนต้น  ภาพเขียนบนผนังถ้ำหรือผนังหินอายุประมาณ
 6,000 ปี ที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 
มีลักษณะคล้ายบันทึกการปลูกธัญพืชอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเหมือข้าว 
ภาพควาย แปลงพืชคล้ายข้าว แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ได้รู้จักการเพาะปลูกข้าวเป็นอย่างดีแล้ว
นัก วิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คน คือ Tayada Natabe, Tomoya Akihama
และ Osamu Kinosgitaแห่งมหาวิทยาลัย Tottri และ กระทรวงเกษตรและกรมป่าไม้
ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องข้าวไทยดูแกลบจาก แผ่นอิฐโบราณจากโบราณสถาน 
108 แห่งใน 39 จังหวัดทั่งทุกภาคของประเทศไทย ทำให้สันนิษฐานได้ว่าการปลูกข้าว
ในไทยมีมานานนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 โดยข้าวที่ปลูกจะเป็นข้าวเหนียวนาสวนเมล็ดป้อม
และข้าวเหนียวไร่เมล็ดใหญ่ ต่อมาการปลูกข้าวเหนียวไร่น้อยลง
แล้วเริ่มมีการปลูกข้าวนาสวนเมล็ดเรียวเพิ่มขึ้น การศึกษาวิจัยนี้ทำให้ทราบว่า
 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-20 มีข้าวชนิดต่างๆ จำนวน 3 ขนาด คือ
 ข้าวเมล็ดใหญ่ ได้แก่ ข้าวเหนียวที่งอกงามในที่สูง ข้าวเมล็ดป้อม ได้แก่ 
ข้าวเหนียวที่งอกงามในที่ลุ่ม (ทั้งสองชนิดมีการเพาะปลูกก่อนสมัยทวาราวดี 
พุทธศตวรรษที่ 11-16) และเมล็ดข้าวเรียว ได้แก่ 
ข้าวเจ้า พบในสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) 
ซึ่งข้าวแต่ละชนิดพบมากหรือน้อยแตกต่างกันไป
ตามระยะเวลา
     ประมาณ .. 540-570 ไทยได้รับอิทธิพลด้านกสิกรรมและ
การค้าจากจีน ซึ่งคาดว่ามาตามลำน้ำโขงสู่ดินแดนอีสานตอนล่าง
ที่นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และเมล็ดใหญ่กันอย่างแพร่หลาย
 เช่นเดียวกับภาคกลางในยุคทวาราวดี ใน ช่วงเวลานั้นเริ่มมีการเพาะ
ปลูกข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียวขึ้นแล้ว สันนิษฐานว่านำมาจากอาณาจักรขอม
 ซึ่งในยุคนั้นถือว่า เป็นชนชั้นปกครอง การหุงต้มข้าวเมล็ดยาวนี้แตกต่างจากข้าว
ของชาวพื้นเมือง จึงเชื่อว่าเป็นสาเหตุให้ข้าวชนิดนี้ถูกเรียกว่า ข้าวเจ้า
และเรียกข้าวเหนียวว่า ข้าวไพร่ บ้างก็เรียกว่า ข้าวบ่าว หรือ
 “ข้าวนึ่ง ซึ่งข้าวในสมัยนั้นเรียกกันเป็นสิ่งบ่งบอกชนชั้นได้อีกด้วย
     ใน สมัยกรุงสุโขทัย (.. 1740-2040) ข้าวที่ปลูกในสมัยนี้
ยังเป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดยาวเป็นส่วนใหญ่
แต่ก็เริ่มปลูกข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียวเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ 
ในยุคนี้พระมหากษัตริย์ทรงทำนุบำรุงการกสิกรรม ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ 
ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีการหักล้างถางพง
และถือครองเป็นที่ทำกิน และที่ดินนั้นจะสืบทอดเป็นมรดกตกทอด
แก่ลูกหลาน การสร้างหลักปักฐานเพื่อประกอบ
อาชีพกสิกรรมเช่นนี้ ก่อให้เกิดระบบการปกครอง
เศรษฐกิจและสังคมขึ้น ดังนั้น ระบบศักดินาซึ่งเป็นการแบ่ง
ระดับชนชั้นตามจำนวนของพื้นที่นาจึงน่าจะเริ่มใน ยุคนี้
     ต่อ มาเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น บ้านเมืองมีความ
มั่งคั่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ อีกทั้งหัวเมืองในอาณาจักร
จำนวนมาก เริ่มระบบการปกครองแบบจตุสดมภ์มี กรมนา
ดูแลและส่งเสริมและสนับสนุนการทำนาอย่างจริงจัง
 เพราะข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรและเป็นเสบียงสำรองใน
ยามเกิดศึกสงคราม โดยข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่
ยังคงเป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และเมล็ดยาว 
แต่การปลูกข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียวมากขึ้นด้วย
     สมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในต้น
รัชสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการเก็บอากรข้าวใน
ภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวที่ทางราชการแนะนำ
หรือพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณภาพ ส่วนภาคเหนือตอนบนนิยม
ปลูกข้าวเหนียว แต่ในภาคเหนือตอนล่างและภาคใต้เน้น
ปลูกข้าวเจ้าเป็นหลัก
     ใน ช่วงนี้เองที่ประเทศตะวันตกได้ออกล่าอาณานิคม 
และเมืองไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมาย แต่ด้วยพระปรีชาญาณ
 และวิเทโศบายอันชาญฉลาดของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
ไทยจึงรอดพ้นเงื้อมมือของต่างชาติ และดำรง
เอกราชอยู่ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งคือ การเปิดเสรีการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น 
ส่งผลให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออก
ที่สำคัญของไทย รัฐบาลต้องขยายพื้นที่เพาะปลูก เพิ่มปริมาณผล
ผลิตข้าวในเขตพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
 ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด

ปัจจุบัน การปลูกข้าวในประเทศไทย คงมีเพียงข้าวเมล็ดป้อม
ที่พบมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่ข้าวเมล็ดยาว
พบมากในภาคกลางและภาคใต้ ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกข้าว คิดเป็น 45 % ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ
 ส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพดีที่สุดของโลก
ข้าวที่ปลูกในพื้นที่แถบนี้จึงมักปลูกไว้เพื่อขาย รองลงมาคือ ภาคกลาง
และภาคเหนือ ที่พื้นที่เพาะปลูกเท่ากันประมาณ 25%
ทุกวันนี้ไทยเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ผลิตออกสู่ตลาดโลกมากที่สุด
และเป็นศูนย์กลางของการศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาท
ของผู้สร้างตำนานแห่งอารยธรรมธัญญาหาร ของมนุษยชาติ


อ้างอิงจากเว็บ: www.arda.or.th/kasetinfo/rice/rice-histories.html#HisThai












ผู้จัดทำ

ด.ญ.ธัญญา ประกอบแก้ว เลขที่18 ด.ญ.พิมพิศา นวลใย เลขที่ 23 ม.2/1